วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่สั่งสอนหรือห้ามโดยตรง มีคำเปรียบเทียบบ้างไม่มีบ้าง เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ, อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา, น้ำเชี่ยว อย่าขวางเรือ
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงความจริง ไม่ได้สอนโดยตรง อาจจะเป็นคำพังเพยแท้ก็ได้ เป็นสำนวนก็ได้ เป็นคำขวัญก็ได้ คำพังเพยแท้เช่น มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่, ยากเงิน จนทอง พี่น้องไม่มี, มีเงินทอง พูดจาได้ มีไม้ไร่ ปลูกเรือนงาม, รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง
สำนวน มักเป็นคำเปรียบเทียบ คือให้นำความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ มาเปรียบเทียบกับความประพฤติของคน เช่นคำว่า ขิงก็รา ข่าก็แรง, ปลาร้าเค็ม มะเขือขื่น, ตัวเท่าเสา เงาท่ากระท่อม, น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
คำขวัญ มักเป็นคำปลอบขวัญหรือปลุกใจให้มุ่งมั่น เช่นคำว่า กรุงศรีอยุธยายังไม่สิ้นคนดี (หมายถึงเมืองไทยยังไม่สิ้นคนดี) ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ, ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม